fbpx
Card image cap

ใครเป็นอาจารย์ของ “วอร์เรน บัฟเฟตต์ ” (ตอนที่2)

วันที่ 21 กันยายน 2561 เวลา 11.24 น.

วอเรน บัฟเฟต นักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่ แล้วใครสอนเขา? (ตอน 2)

บทความนี้ก็เป็นบทความตอนที่สอง ต่อจากบทความก่อน ในซีรี่ย์นี้นะครับ (สามารถติดตามอ่านย้อนหลังได้ที่ ใครเป็นอาจารย์ของ “วอร์เรน บัฟเฟตต์” ตอนที่1) ในบทความนี้ผมจะพาคุณผู้อ่านทุกท่านไปรู้จักบุคคุลผู้เป็นต้นแบบทางความคิดการลงทุนอีกท่านหนึ่งของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ถ้าพร้อมแล้วไปต่อกันเลยครับ…

 

ท่านที่สอง คือ Phillip Fisher (ฟิลลิป ฟิชเชอร์)

สรุปเรื่องราวชีวิตและแนวคิดการลงทุนของ ฟิลลิป ฟิชเชอร์

-เกือบจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เริ่มอาชีพนักลงทุนโดยการเป็นนักวิเคราะห์ที่โบรกเกอร์ในปี ค.ศ. 1928 ต่อมาก็เป็นผู้จัดการกองทุน เริ่มบริหารจัดการกองทุนตั้งแต่ปี ค.ศ.1931 จนถึง ปี ค.ศ.1999 ตลอด 70 ปีในการทำงาน เขาได้สร้างผลตอบแทนที่ดีเยี่ยมให้กับนักลงทุนของเขามาโดยตลอด

-เป็นอาจารย์สอนวิชาหลักการลงทุนที่มหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด

-หนังสือขายดีของเขาคือ common stock and uncommon profit

-การลงทุนในหุ้นเติบโตเป็นคำตอบของฟิชเชอร์หลังจากที่วิธีการของเกรแฮมเริ่มถดถอยไป ฟิชเชอร์มองว่าการซื้อหุ้นในช่วงเวลาแย่ๆแล้วขายในช่วงเวลาดีๆจะสร้างรายได้มหาศาลก็จริง แต่การซื้อหุ้นบริษัทที่ยอดเยี่ยมและผ่านช่วงเวลาที่ผันผวนของตลาดมาได้(ถือระยะยาวนานพอ) บริษัทเหล่านี้จะทำกำไรมากกว่าวิธีการซื้อถูกแล้วขายแพง

ระยะเวลาในการถือหุ้นเติบโตคือปัจจัยสำคัญในการสร้างผลตอบแทนมหาศาล ในระยะยาวหุ้นเติบโตจะไปได้สวยกว่าหุ้นทั่วไป หุ้นเหล่านี้มักจะเติบโตในมูลค่าเป็นร้อยเป็นพันเปอเซ็นต์ในทุกๆทศวรรษ และหุ้นเติบโตไม่ใช่เพียงดีกว่าในเรื่องมูลค่าหุ้นที่เพิ่มขึ้น แต่ยังให้เงินปันผลเพิ่มขึ้นอีกในเวลาเหมาะสม

-หุ้นที่อัตราเติบโตสูงมักเป็นหุ้นบริษัทใหม่ แต่ฟิชเชอร์ก็ไม่แนะนำให้ใหม่มาก เขาแนะนำให้ลงทุนในบริษัทที่ก่อตั้งมานานระยะหนึ่งประกอบกับหลักการเลือกบริษัทลงทุนที่เขียนไว้ในหนังสือของเขา

-เกรแฮมยึดติดข้อกำหนดกฏเกณฑ์การลงทุนของเขาอย่างมากดังนั้นเมื่อตลาดขึ้นสูงคุณจะไม่สามารถหาหุ้นที่ราคาถูกแสนถูกได้ เท่ากับว่านักลงทุนจะหยุดลงทุน แต่ฟิชเชอร์สนใจที่คุณภาพหุ้นไม่ใช่ระดับราคาหุ้น ดังนั้นเขาจึงมองจังหวะการซื้อว่าเป็นอีกประเด็นหนึ่งกับราคาหุ้น อาจจะดูเหมือนซื้อแพงกว่ามูลค่าแท้จริง แต่ถ้าจังหวะการซื้อน่าสนใจก็เข้าซื้อ

 

คำถาม : คุณจะทำอย่างไรถ้าพบบริษัทที่น่าลงทุนแต่ยังไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมในการลงทุน?

คำตอบ : รอราคาลงมาในจังหวะน่าซื้อก่อน เพราะในมุมฟิชเชอร์ การลดลงของราคาร้อยละ40-60 ไม่ผิดปกติ อาจลองเสี่ยงซื้อตอนราคาลงลงมาได้ ถ้าเป็นการซื้อจำนวนน้อยๆ แต่ถ้าซื้อจำนวนมากควรรอให้สภาวะตลาดเอื้อประโยชน์

 

ฟิชเชอร์จะไม่พยากรณ์ดัชนีทางเศษฐศาสตร์ หรือดัชนีทางการเงิน  แต่ฟิชเชอร์มองว่าถ้าเจอหุ้นน่าสนใจแล้วไม่กล้าซื้อเพราะกลัวสภาวะตลาด ถือเป็นต้นทุนค่าเสียโอกาสอย่างหนึ่ง แต่ทั้งนี้ก็ต้องคิดกลับไปมาระหว่าง จังหวะเวลาในการลงทุน กับ การออกจากตลาด

 

-*ฟิชเชอร์ไม่ได้สนใจว่าจะต้องขายหุ้นเมื่อมันขึ้นไปสูงมากหรือคาดการณ์ว่าตลาดจะตกลงมาแล้วจึงรีบขายก่อน เขาเชื่อว่า “หากได้มีการทำอย่างถูกต้องตอนซื้อหุ้นสามัญแล้วก็ไม่ต้องสนใจว่าจะขายเมื่อไหร่” และเขามองว่านักลงทุนระยะยาวจะเป็นผู้ชนะ ในระยะยาวจะทำกำไรมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด

 

-*ฟิชเชอร์ไม่เชื่อในความมีเหตุผลของตลาด นักลงทุนควรระมัดระวังการครอบงำของตลาด ณ ขณะนั้น  ไม่แนะนำให้นักลงทุนซื้อเพราะความหลงชั่วคราว ไม่แนะนำให้ทำตามคนส่วนใหญ่ ควรหลีกเลี่ยงการเปรียบเทียบการตัดสินใจกับคนส่วนใหญ่ ซึ่งถือเป็นหลักการลงทุนที่สำคัญมากสำหรับเขา

 

ในหนังสือ common stock and uncommon profit ฟิชเชอร์เขียนหลักการเลือกบริษัทลงทุนของเขาไว้ โดยขอยกมาเพียงบางส่วนเฉพาะหลักสำคัญๆคือ

1) สินค้าหรือบริการมีศักภาพมากพอที่จะพัฒนาให้เพิ่มยอดขายได้มากพอเป็นเวลาหลายปี

2) แผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถเพิ่มยอดขายในอนาคตหากตัวเด่นล้ำสมัย

3) มีแผนกวิจัยและพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ

4) มีฝ่ายขายที่ดีเยี่ยม

5) มีอัตรากำไรที่คุ้มค่า (ผลตอบแทนที่ดีในระยายาวจากการลุงทุนจะมาจากการลงทุนในบริษัทที่มีกำไรในตัวสินค้าสูงไม่ใช่มีกำไรในตัวสินค้าน้อย)

6) มีกำไรที่ยั่งยืนและดีขึ้นเรื่อยๆ

7) มีความสัมพันธ์ที่ดีกับพนักงาน (ถ้าบริษัทไม่ทำให้พนักงานรู้สึกถึงคุณค่าการทำงาน แสดงว่าผู้บริหารไม่ได้สร้างบริษัทที่เหมาะกับการลงทุน)

8) มีความสามารถในการจัดหาเงินทุนเพื่อการเติบโตด้วยดุลยพินิจที่ดีของผู้บริหาร (แสดงถึงศักยภาพของผู้บริหารที่จะตัดสินใจลงทุนที่ดี)

-*ฟิชเชอร์คิดว่าบริษัทต้องจ่ายเงิน 25-40% ของกำไรเป็นเงินปันผล เพราะเขาคิดว่าปันผลเป็นสัญญาณที่บริษัทสามารถอยู่รอดและพัฒนาธุรกิจต่อไปได้โดยไม่ใช้กำไรทั้งหมด

 

สรุป >> แนวคิดการลงทุนของฟิชเชอร์ “บริษัทอยู่ในช่วงเติบโต คุณภาพสูง อนาคตสดใส ปันผลต้องดี และถือให้นานพอหรือตลอดไป “

 

————————————————-

#ซื้อขายทองคำแท่ง #ซื้อขายทองคำแท่งออนไลน์ #ทองคำ
#อินเตอร์โกลด์ #InterGOLD #ลงทุนทองคำแท่ง
สามารถติดตามบทวิเคราะห์ได้ที่: https://www.youtube.com/intergoldgoldtrade
 สนใจลงทุนทองคำแท่งหรือติดตามข่าวสารได้ที่
 Website : www.intergold.co.th
 Line : @intergold
 Facebook : https://www.facebook.com/IntergoldPage/
Call : 02 – 2233 – 234



ราคาทอง
28 มีนาคม 2567 | 19:29:08

ประเภท รับซื้อ ขายออก
LBMA
99.99% (Baht)
39,501

+2.00

39,561

+2.00

InterGold
96.5% (Baht)
38,101

+2.00

38,166

+2.00

สมาคมฯ
96.5% (Baht)
37,850

0.00

37,950

0.00

Gold Spot
(USD)
2,211.03

0.00

2,211.47

0.00

ค่าเงินบาท
(USDTHB)
-
36.50

0.00

ราคาทองคำย้อนหลัง
ความเคลื่อนไหวกองทุนทองคำ
28 มีนาคม 2567 | 19:27:02

SPDR (ton) (USD) HUI (USD)
830.15

0.00

238.60

-0.43