fbpx
Card image cap

เงินบาทอ่อน ภาค2 : ตอน อัตราดอกเบี้ย และ การกระจายความเสี่ยง

วันที่ 20 กรกฎาคม 2561 เวลา 16.03 น.

เงินบาทอ่อน ภาค 2 : ตอน อัตราดอกเบี้ย และ การกระจายความเสี่ยง

สวัสดีครับผม กลับมาตามคำเรียกร้อง… กับ content เงินบาทอ่อนภาค 2 กันนะครับ ก่อนอื่นมาอัพเดทกันก่อนนะครับว่าอย่างที่ทุกท่านเห็นในสัปดาห์ที่ผ่านมาเงินบาทของประเทศไทยเคลื่อนตัวอ่อนค่าในกรอบ 33.3-33.5 ซึ่งเรียกได้ว่าอ่อนแล้วอ่อนอีกกันเลยทีเดียวนะครับ

โดยจากในบทความที่แล้วเรื่อง “เงินบาทอ่อนภาค 1” ผมได้กล่าวถึงในส่วนของ กลไกตลาด (Market Mechanism) และ การไหลออกของเงินทุนต่างชาติ (Foreign Capital Outflows) ใน ตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) ซึ่งนักลงทุนต่างชาติมาลงทุนในตลาดเกิดใหม่อย่างที่บ้านเรานั้นก็เพราะด้วยอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่า ตลาดที่พัฒนาแล้ว (Developed Market) แต่ก็แลกมาด้วยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเช่นกันแต่แน่นอนว่ากองทุนต่างประเทศเหล่านั้นต้องคิดคำนวณมาอย่างละเอียดรอบคอบเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่คาดหวังและความเสี่ยงที่รับได้ซึ่งต้องผ่านกระบวนการ การกระจายความเสี่ยง (Diversification) โดยลงทุนในหลายๆแหล่งเพื่อให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้   เพราะฉะนั้นอย่างที่กล่าวไปครับเราจะมาต่อกันเนาะว่าเงินทุนไหลออกเนี่ยมันไหลออกไปไหนและทำอะไร???

.

(source: TradingView)

                ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนดีกว่าว่าเหล่าพรรคพวกตลาดเกิดใหม่ทั้งหลายเป็นยังไงบ้าง แผนภาพด้านบนแสดง ราคาหน่วยลงทุนสำหรับกองทุนที่ลงทุนในดัชนีตลาดเกิดใหม่ (MSCI EMERGING INDEX FUND) ซึ่งจะเห็นได้เลยว่าตั้งแต่ต้นปี 2018 เป็นต้นมา ราคาหน่วยลงทุนลดลงอย่างต่อเนื่องซึ่งนั่นเป็นการสะท้อนภาวะที่เกิดขึ้นในตลาดเกิดใหม่ต่างๆอย่างชัดเจน โดยนั่นก็ทำให้พวกเราเห็นได้เลยว่าเงินทุนนั้นไหลออกจากตลาดเกิดใหม่ทุกตลาดเลยก็ว่าได้

ต่อมาครับ เงินทุนไหลไปไหน??? หากทุกท่านติดตามข่าวกับทางอินเตอร์โกลด์ไม่ว่าจะช่องทางไหนก็จะทราบเลยว่า ทุกสินทรัพย์ทั่วโลก นักลงทุนทุกท่านคงแทบจะไม่เห็นสินทรัพย์ไหนมีผลตอบแทนที่เติบโตขึ้นเลย แต่ผมอยากให้ข้อสังเกตุไปที่สองประเด็น ได้แก่ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ และ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ ( U.S Treasury-Bond Yield)

 

อย่างที่เห็นกันธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ประกาศขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องในปีนี้ โดยขึ้นมาแล้วทั้งหมด 2 ครั้ง และในปีนี้จะขึ้นอีกสองครั้งค่อนข้างแน่นอน และมีแนวโน้มสูงที่จะปรับขึ้นอีกใน 1-2 ปีข้างหน้า ซึ่งเมื่ออัตราดอกเบี้ยปรับขึ้นตามกลไกแล้วอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Bond Yield) ก็จะปรับขึ้นเช่นกัน ซึ่งจากปีที่ผ่านมา Bond Yield ปรับตัวสูงขึ้นเป็นอย่างมาก ดังที่แสดงในแผนภาพด้านล่าง

(Source: Investing)

 

ซึ่งจากที่กล่าวไปข้างต้น ผมคิดว่าหลายๆท่านคงพอเดาออกแล้วว่าเงินออกจากตลาดเกิดใหม่ไปที่ไหน ? ใช่ครับ เงินไหลไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐนั่นเอง !!!!!! เนื่องจากพันฐบัตรรัฐบาลมีผลตอบแทนที่สูงขึ้นกองทุนต่างๆที่มาลงทุนในตลาดเกิดใหม่จึงดึงเงินกลับและไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลนั่นเอง
คำถามคือผลตอบแทนจากพันธบัตรที่มันสูงขึ้นมันดึงดูดขนาดนั้นเลยหรอ? สำหรับพันธบัตรรัฐบาลถ้าให้พูดอย่างเข้าใจง่ายๆ คือการที่รัฐบาล “กู้เงิน” นั่นเอง โดยผู้ที่ถือพันธบัตรก็เสมือนเจ้าหนี้ของรัฐบาลนั่นเอง เพราะฉะนั้นเรียกได้ว่าความเสี่ยงที่รัฐบาลจะเบี้ยวหนี้นั้นต่ำมากจนแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ยิ่งกับรัฐบาลประเทศอย่างสหรัฐฯ ยิ่งแทบเป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นความเสี่ยงของการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลจึงมีต่ำมาก นำมาซึ่งผลตอบแทนที่ต่ำตามแต่ก็เป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัยเหมาะแก่นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ
การที่พันธบัตรให้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นนั้นถึงจะไม่สูงเมื่อเทียบกับการลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ แต่เมื่อพิจารณาถึงความเสี่ยงที่ต่ำแล้วจึงถือเป็นการลงทุนที่ดึงดูดไม่น้อย ยิ่งกับสถานการณ์ในปัจจุบันที่สงครามการค้าระอุ จึงทำให้เศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงต่อความผันผวนเป็นอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นเศรษฐกิจในประเทศที่กำลังพัฒนา (Developing Country) จะมีโอกาสเกิดความผันผวนสูงกว่า นำมาซึ่งความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) เพราะฉะนั้น นักลงทุนจึงเห็นว่าการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลตอนนี้มีความปลอดภัยมากที่สุดในสถานการณ์ปัจจุบันอีกทั้งผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายทำให้การลงทุนนี้น่าดึงดูด”

อีกทั้งช่วงเวลานี้ยังเป็นช่วงเวลาที่กองทุนต่างชาติที่มาลงทุนนอกประเทศต้องนำเงินทุนบางส่วนกลับไปประเทศเพื่อจ่ายปันผลให้กลับนักลงทุนซึ่งส่วนนี้จะเป็นเพียงส่วนเล็กๆหากเทียบกับเหตุผลด้านอัตราดอกเบี้ย เพราะฉะนั้น สรุปว่าเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯปรับตัวขึ้น ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ (U.S. Treasury Bond Yield) เพิ่มสูงขึ้นอีกทั้งปัจจัยจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ถูกสั่นคลอนด้วยสงครามการค้าทำให้ จึงเกิด การที่เงินทุนไหลออก (Capital Outflows) จากตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) จึงทำให้เกิด อุปทานเงินบาทส่วนเกิน (THB-Excess Supply) นำมาซึ่งการที่เงินบาทอ่อนค่านั่นเอง

 

#ซื้อขายทองคำแท่ง #ซื้อขายทองคำแท่งออนไลน์ #ทองคำ
#อินเตอร์โกลด์ #InterGOLD #ลงทุนทองคำแท่ง
สามารถติดตามบทวิเคราะห์ได้ที่: https://www.youtube.com/intergoldgoldtrade
 สนใจลงทุนทองคำแท่งหรือติดตามข่าวสารได้ที่
 Website : www.intergold.co.th
 Line : @intergold
 Facebook : https://www.facebook.com/IntergoldPage/
Call : 02 – 2233 – 234

 

 

 



ราคาทอง
19 เมษายน 2567 | 05:24:49

ประเภท รับซื้อ ขายออก
LBMA
99.99% (Baht)
42,904

0.00

42,974

0.00

InterGold
96.5% (Baht)
41,394

0.00

41,469

0.00

สมาคมฯ
96.5% (Baht)
41,350

0.00

41,450

0.00

Gold Spot
(USD)
2,380.01

0.00

2,380.49

0.00

ค่าเงินบาท
(USDTHB)
-
36.84

0.00

ราคาทองคำย้อนหลัง
ความเคลื่อนไหวกองทุนทองคำ
19 เมษายน 2567 | 05:21:02

SPDR (ton) (USD) HUI (USD)
0.00

0.00

238.60

-0.43