fbpx
Card image cap

ใครเป็นอาจารย์ของ “วอร์เรน บัฟเฟตต์ ” (ตอนที่1)

วันที่ 19 กันยายน 2561 เวลา 10.47 น.

วอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่ แล้วใครสอนเขา? (ตอน 1)

ผมเชื่อว่าหลายๆท่านที่เป็นนักลงทุนหรือมีความสนใจด้านการลงทุน ทั้งมือใหม่เริ่มต้นลงทุนหรือมือเก๋าที่ลงทุนมานานแล้วก็ตาม แม้แต่ผู้ที่ไม่เคยลงทุนแต่ก็อาจบังเอิญเดินผ่านร้านหนังสือแล้วเห็นชื่อของเขาบนหนังสือมากมายหลายเล่มทั้งฉบับภาษาอังกฤษและฉบับแปลไทย… ครับ ผมกำลังหมายถึง วอร์เรน บัฟเฟตต์ ชายผู้ถูกยกย่องจากผู้คนทั่วโลกว่าเป็น “ต้นแบบ” การลงทุนแนวเน้นคุณค่าหรือปัจจัยพื้นฐาน ชายผู้ทำผลตอบแทนการลงทุนเฉลี่ยมากกว่า 10% ต่อปี เป็นระยะเวลายาวนานหลายปีติดต่อกัน ชายผู้ไม่ได้มีดีแค่ความสามารถการลงทุนแต่ยังเป็นต้นแบบที่ดีทางความคิดและการใช้ชีวิต เป็นแรงบังดาลใจให้กับผู้คนทั่วโลก แต่จากที่ผมกล่าวมาทั้งหมด คุณเคยสงสัยบ้างหรือไม่ว่า วอร์เรน บัฟเฟตต์ สร้างแนวคิดการลงทุนทั้งหมดจากตัวของเขาเอง หรือว่ามีใครสอนเขา?… ครับ และคำตอบก็คือ… มีอาจารย์สอนเขาอีกที ดังนั้นในบทความซีรี่ย์นี้ ผมจึงขอพาผู้อ่านทุกท่านไปทำความรู้จักอาจารย์หรือรากทางความคิดที่ วอร์เรน บัฟเฟตต์ นำมาใช้เป็นหลักการลงทุนของเขามาจนถึงทุกวันนี้ (แม้ว่าหลังๆบัฟเฟตจะปรับเปลี่ยนมุมมองให้เข้ากับแนวทางตนเองและยุคสมัยมากขึ้นแต่ก็ยังคงแนวความคิดหลักๆไว้เช่นเดิม) เราไปเริ่มต้นจากท่านแรกกันเลยครับ…

 

ท่านแรก คือ Benjamin Graham (เบนจามิน เกรแฮม)

สรุปเรื่องราวชีวิตและแนวคิดการลงทุนของ เบนจามิน เกรแฮม

-จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และเริ่มเข้าทำงานที่บริษัทนายหน้าค้าหุ้น (โบรกเกอร์)

-เกรแฮม เป็นอาจารย์สอนวิชาหลักการลงทุน (การวิเคราะห์หลักทรัพย์) ที่ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และ เป็นอาจารย์ของวอเรน บัฟเฟต

-เขียนหนังสือขายดีชื่อ the intelligent investor (หนังสือที่บัพเฟตยกย่องว่า ทำให้ความเชื่อที่ผิดๆเกี่ยวกับตลาดหุ้นหายไป  โดยมีหลักการลงทุนที่ถูกที่ควรมาแทน)

-ก่อนปี ค.ศ. 1929 ตลาดเป็นขาขึ้นตลอด หลัง ปี ค.ศ.1929 เกิดgreat depression อย่างหนักหลายปีติดต่อกัน

-เกรแฮมเริ่มสร้างกองทุนของตัวเองครั้งแรกในปี ค.ศ. 1923 วอเรนบอกว่านี้น่าจะเป็นกองทุนแรกในประวัติศาสตร์อเมริกา

-จากนั้นในปี ค.ศ.1926 เกรมแฮมสร้างกองทุนใหม่อีกครั้งและดำเนินงานจนถึงปี ค.ศ. 1936  ซึ่งในปี ค.ศ.1935 เกรแฮมสามารถทำให้กองทุนกลับมาเป็นปกติได้หลังจากขาดทุนไปอย่างหนักในช่วงเกิดวิกฤตปี ค.ศ.1929

-ช่วงทศวรรษ 1930-1950 เกรแฮมได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้จัดการทางการเงินที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่ง ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่ 17.6% ขณะที่ s&p อยู่ที่ 10.1% คิดเฉลี่ยผลตอบแทนถือว่าอยู่เหนือตลาดอย่างน้อย 3% ทุกปี

หลักการลงทุนของเกรแฮม

1) เลือกเป้าหมายการลงทุน

2) ดูแลบริษัทที่ซื้อมา

3) สร้างความเข้าใจให้ครอบคลุมทุกประเด็นที่นักลงทุนต้องเผชิญ

-1 เลือกเป้าหมายการลงทุน = มองการซื้อหุ้นทุกครั้งให้เหมือนการเข้าซื้อกิจการ ทำให้การลงทุนเหมือนเป็นการทำธุรกิจ “การลงทุนที่ฉลาดที่สุดเกิดขึ้นเมื่อทำให้มันเป็นเชิงธุรกิจ” ซื้อหุ้นโดยอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจในธุรกิจและมูลค่าของธุรกิจ

-2 ดูแลบริษัทที่ซื้อมา = ควรติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดในธุรกิจที่ซื้อมา ไม่ควรปล่อยปะละเลย ติดตามงานของผู้บริหารด้วยความเอาใจใส่และเข้าใจมากพอ

-3 สร้างความเข้าในในทุกประเด็นที่นักลงทุนต้องเผชิญ = เน้นเรื่องแนวความคิดที่เป็นอิสระ ความเชื่อมั่นในความรู้ ประสบการณ์ของตนเอง กล้าที่จะทำตามความเห็นของตนเองแม้จะมีความเห็นที่แตกต่างกับคนอื่นๆ”คุณไม่ได้ถูกหรือผิด เพียงเพราะคนทั่วไปไม่เห็นด้วยกันคุณ คุณถูกเพราะข้อมูลและเหตุผลของคุณบอกว่าถูก”

 

หลักการลงทุนอีกชุดของเกรแฮม  ( 2 วิธีเลือกเป้าหมายการลงทุน )

1) การพยากรณ์อนาคต

2) แบบจำกัดความเสี่ยงหรือการลงทุนแบบระมัดระวัง

-1 การพยากรณ์ =มองได้ว่าเป็นการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ คือการคำนวณความเติบโต ความเป็นไปได้ของกำไรในอนาคตของบริษัท และอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับตัวเลขทางการเงิน

-2 การจำกัดความเสี่ยง = เป็นการวิเคราะห์เชิงปริมาณและสถิติ คือ ดูอัตราส่วนทางการเงินต่างๆ เช่น สินทรัพย์ หนี้สิน ปันผล ส่วนของเจ้าของ เป็นต้น *เกรแฮมใช้วิธีนี้ และเคร่งครัดกับหลักการมาก เกรแฮมมองหาหุ้นที่มีมูลค่าต่ำกว่าที่แท้จริงในเชิงปริมาณ ไม่สนใจการคาดหวังหรือสัญญาในอนาคต

-เกรแฮมมุ่งสนใจที่มูลค่าภายใน (สินทรัพย์ กำไร เงินปันผล) ของหุ้นไม่สนใจในราคา เพราะเขามองว่าราคาเป็นการปรับแต่งและเป็นเรื่องของจิตวิทยา

-เกรแฮมมองหลักจำกัดความเสี่ยงว่ามีองค์ประกอบที่สำคัญคือ ส่วนเผื่อความปลอดภัย (margin of safety) ซึ่งการลงทุนแบบที่มี margin of safety เท่านั้นถึงจะให้ผลตอบแทนที่ต้องการ โดยส่วนเผื่อความปลอดภัยที่ดีคือ ต้องมีกำไร(E)ต่อราคา(P)ที่สูงพอๆกับอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรเกรดดี(พันธบัตรระยะสั้นรัฐบาล) เกรแฮมมีกฏส่วนตัวว่า E/P ต้องมีค่าเป็น2เท่าของอัตราพันธบัตรเกรดดี(rf) เช่น 1/0.05=20  ส่งผลให้P/Eที่ควรจะเป็น =10

ส่วนเผื่อความปลอดภัยของเเกรแฮมคือการเข้าซื้อในช่วงราคามูลค่าคิดลดจนถึงมูลค่าแท้จริง เกรแฮมแนะนำให้ซื้อหุ้นที่ราคาต่ำกว่าระดับที่ได้จากวิธีการคิดลดกระแสเงินสดของบริษัทที่อัตราผลตอบแทนปราศจากความเสี่ยง(rf) แต่หุ้นเสี่ยงกว่าพันธบัตรเพราะงั้นราคาที่ซื้อต้องต่ำกว่าราคาที่คำนวณได้ อาจไม่ได้ซื้อที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าแท้จริง ขอแค่ซื้อในราคาที่ต่ำกว่าการคำนวณมาให้ได้ก็พอ เช่น เมื่อคำนวณด้วยวิธีการคิดลดกระแสเงินสดของบริษัทมาได้ 8บาท  มูลค่าแท้จริงอยู่ที่10บาท ดังนั้น เราควรเข้าซื้อที่ช่วงราคา6-7บาท เพราะต่อให้ราคาลงต่ำกว่านี้ ก็ไม่เป็นไรเพราะถือว่าซื้อได้ในราคาที่ถูกแล้ว

-เกรแฮมแนะนำว่าไม่ควรจ่ายมากกว่าP/E 15 เท่า และคำนวน P/E เฉลี่ยนตามกำไรย้อนหลัง 3 ปี (แต่ปัจจุบันคนจะให้ความสำคัญกับมูลค่าปัจจุบันมากกว่าอดีต)

-หลักการลงทุนของเกรแฮมอีกข้อคือ ดูความคุ้มค่าในการเป็นเจ้าของหุ้น แล้วนักลงทุนควรจ่ายที่ราคาเดียวกับตลาดหรือไม่ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการซื้อหุ้นจะต้องพิจารณาเหมือนการเข้าซื้อธุรกิจ

-เกรแฮมจะเลือกบริษัทที่มีขนาดใหญ่ อยู่มานาน และมีฐานะทางการเงินแข็งแกร่ง

-เกรแฮมจะเรียกบริษัทที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงว่า “ก้นบุนหรี่” (cigar butts)

 

กฏการลงทุนของเกรแฮมนับวันจะยิ่งใช้ยากขึ้นจากหลายปัจจัย เช่น ราคาเฉลี่ยหลักทรัพย์ในตลาดไม่ถูกอีกต่อไป ,ทฤษฎีการลงทุนของเกรแฮมเป็นที่นิยมทุกคนหวังจะหาหุ้นที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงตามที่เกรแฮมเสนอ และ บริษัทมหาชนก็หาข้อมูลมาให้นักลงทุนมากกว่าอดีตเพื่อให้นักลงทุนเลือกซื้อหลักทรัพย์บริษัทของตน ประกอบกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยทำให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วและพร้อมเพียงกันแทบจะทันที ทำให้ไม่มีโอกาสค้นหาหุ้น “ราคาถูก” ได้ก่อนผู้อื่น

 

-ช่วงที่เขามีชีวิตอยู่หนังสือ the intelligent investor ถูกตีพิมพ์ครั้งสุดท้ายในปีค.ศ. 1973 ซึ่งเกรแฮมออกมายอมรับว่า การหาหุ้นที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าแท้จริง(ตามหลักการเคร่งครัดของเขา)นั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยากอย่างยิ่งในช่วงหลังๆ(จากเหตุปัจจัยที่กล่าวไป)

-ถึงแม้ว่าหุ้นที่ราคาถูกแบบไม่มีเหตุผลได้หายไปจำนวนมาก แต่นักวิชาการและสถาบันวิจัยทางการเงินต่างๆทั้งในอเมริกาและประเทศอื่นๆทั้วโลก ได้ตั้งข้อสังเกตไว้อย่างน่าสนใจว่า การลงทุนในหุ้นที่ราคาค่อนข้างต่ำกว่ามูลค่าแท้จริง(value investing) ยังคงเป็นกลยุทธ์ที่สามารถได้รับผลตอบแทนกลับมาจำนวนมากได้  แต่ผลสำรวจที่น่าสนใจอีกอย่างคือ ผลตอบแทนที่ดีที่สุด ไม่ได้เกิดจากการลงทุนในหุ้นที่ราคาถูกที่สุด แต่ว่าเป็นหุ้นที่ราคาถูกรองลงมา เพราะบางทีหุ้นตัวที่ถูกที่สุด มันถูกเพราะจะล้มละลายไม่ใช่เพราะมูลค่าต่ำกว่าที่แท้จริง

-ระยะหลังเกรแฮมเริ่มเปลี่ยนไปลงทุนในหุ้นที่มีแนวโน้มเติบโตขึ้น เขารู้สึกว่าการลงทุนแบบนี้ไม่ได้ขัดกับหลักส่วนเผื่อความปลอดภัย(Margin of safety) เกรแฮมกลับมาคิดว่าการประเมินและใคร่ครวญถึงอนาคตอย่างละเอียดจะกลายเป็นแนมโน้มใหม่ของการวิเคราะห์หลักทรัพย์(การพยากรณ์)

-เกรแฮมเสริมว่า การขึ้นของราคาหุ้น จะมาจาก “ความคาดหวังของนักลงทุน” โดยจะมีส่วนผสมของ “บริษัทขนาดใหญ่ ข้อมูลผลตอบแทนดีเยี่ยม ความคาดหวังของสาธารณชนต่อการเติบโตของกำไรในอนาคต และความแข็งแกร่งของภาวะตลาดในช่วงนั้น” เหล่านี้รวมกันจะทำให้ราคาหุ้นขึ้น

-เกรแฮมไม่ได้สนับสนุนลงทุนในหุ้นใหม่ที่เติบโตเสียทั้งหมด เขายังคงมุ่งสนใจไปที่ 1 หุ้นที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าแท้จริง 2 แก่นของหลักการลงทุนแบบระมัดระวังคือ ต้องเน้นสถานะของบริษัททั้งในอดีตและปัจจุบัน

 

สรุป >> แนวคิดการลงทุนในอุดมคติของเกรแฮม คือ “บริษัทขนาดใหญ่ ฐานะการเงินแข็งแกร่ง เติบโตช้าๆ ไม่เร็วจนเกินไป ราคาต้องถูก ไม่ใช่บริษัทขนาดเล็ก ดาวรุ่งเปราะบาง”

 

————————————————-

#ซื้อขายทองคำแท่ง #ซื้อขายทองคำแท่งออนไลน์ #ทองคำ
#อินเตอร์โกลด์ #InterGOLD #ลงทุนทองคำแท่ง
สามารถติดตามบทวิเคราะห์ได้ที่: https://www.youtube.com/intergoldgoldtrade
 สนใจลงทุนทองคำแท่งหรือติดตามข่าวสารได้ที่
 Website : www.intergold.co.th
 Line : @intergold
 Facebook : https://www.facebook.com/IntergoldPage/
Call : 02 – 2233 – 234



ราคาทอง
29 มีนาคม 2567 | 20:43:09

ประเภท รับซื้อ ขายออก
LBMA
99.99% (Baht)
39,945

+25.00

40,045

+25.00

InterGold
96.5% (Baht)
38,540

+25.00

38,650

+25.00

สมาคมฯ
96.5% (Baht)
38,450

0.00

38,550

0.00

Gold Spot
(USD)
2,232.57

0.00

2,233.28

0.00

ค่าเงินบาท
(USDTHB)
-
36.51

0.00

ราคาทองคำย้อนหลัง
ความเคลื่อนไหวกองทุนทองคำ
29 มีนาคม 2567 | 20:42:03

SPDR (ton) (USD) HUI (USD)
830.15

0.00

238.60

-0.43