fbpx
Card image cap

“พรุ่งนี้ทองจะขึ้นไหม”

วันที่ 17 สิงหาคม 2561 เวลา 11.06 น.

Successful Trader: Richard Thaler

ริชาร์ด ธาเลอร์ (Richard Thaler) นักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยกย่องในแขนงวิชา “เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม (Behavior Economic)” โดยเฉพาะผลงานในปี 2017 ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยเรื่องของเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมนั่นเอง ซึ่งศาสตราจารย์ Peter Gärdenfors คณะกรรมการได้กล่าวถึงผลงานนี้ว่า “ทำให้เศรษฐศาสตร์มีความเป็นมนุษย์มากยิ่งขึ้น”

ประวัติ

ธาเลอร์ให้ความสนใจต่อ “พฤติกรรม” ที่นำไปสู่การตัดสินใจทางเศรษฐศาสตร์ตั้งแต่สมัยปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัย โรเซสเตอร์ (University of Rochester) และหลังจากนั้นก็ได้ศึกษาและสร้างสรรค์ผลงานวิจัยด้านนี้มาโดยตลอด อีกทั้ง ศ.ธาเลอร์ยังได้สร้างและนำเสนอทฤษฎี “การสะกิด ()” ที่เกี่ยวกับการชักจูงมนุษย์ให้ตัดสินใจทำสิ่งที่เขาไม่อยากทำได้ อีกทั้งเขายังได้เขียนหนังสือ World’s Best Selling “Nudge : Improving Decisions About Health, Wealth and Happiness” ซึ่งมีฉบับภาษาไทยภายใต้ชื่อ “สะกดความคิด สะกิดพฤติกรรม” โดยสำนักพิมพ์ We Learn ซึ่งปัจจุบัน ธาเลอร์เป็นศาสตราจารย์อยู่ที่วิทยาลัย Booth Business School แห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก้ และยังดำรงตำแหน่งประธานองค์กร American Economic Association (AEA)  อีกยังทั้งเป็นประธานบริษัทบริหารสินทรัพย์ Fuller & Thaler ซึ่งเขาเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งอีกด้วย

 

 

ปรัชญาการลงทุน

“Investors make mistakes, we look for them.” นี่เป็นปรัชญาหลักของการลงทุนสำหรับ Fuller & Thaler Asset Management โดยจะโฟกัสไปที่ข้อผิดดพลาดบางอย่างที่เกิดในตลาดจากพฤติกรรมของนักลงทุนที่ตอบสนองต่อข่าวหรือข้อมูลแบ่งเป็นสองอย่างได้แก่

  • “Over-Reaction” หรือการ Panic ของตลาดไม่ว่าจะแง่บวกหรือแง่ลบต่อข้อมูลปัจจุบันหรือข้อมูลในอดีตอาทิ การมีข่าวลือของ insider หรือการ repurchase หุ้นทำให้นักลงทุนคิดว่ามันจะเป็นสัญญาณบวกซึ่งในความเป็นจริงอาจจะไม่ได้เป็นสัญญาณที่ดีที่ก่อให้เกิดมูลค่าขนาดที่ตลาดคาดการณ์ก็เป็นได้ หรือข่าวในแง่ลบที่จริงๆแล้วไม่ได้ส่งผลกระทบต่อมูลค่าของกิจการหรือสินทรัพย์นั้นๆเลย จึงเป็นเหตุทำให้มูลค่าของสินทรัพย์นั้นต่ำกว่าที่ควรจะเป็นจากการ over-react ของตลาด
  • “Under-Reaction” หรือการไม่ให้ความสำคัญ (Not Pay Attention) ต่อข้อมูลเชิงบวกที่กระทบต่อมูลค่าพื้นฐานของทรัพย์สินนั้นๆอาทิเช่น การเพิ่มขึ้นอย่างไม่คาดคิดของกำไรของบริษัทแต่ตลาดอาจจะยังไม่ได้ react ต่อข้อมูลเหล่านั้นเท่าที่ควรอาจจะเพราะราคาหุ้นที่ไม่ขยับ หรือไม่ได้มีข่าวอะไรมากมาย (สำหรับคนที่ต้องการเพียง story ในการเก็งกำไร) อย่างนี้เป็นต้น
  • (Source: U.S. News)

                กราฟด้านบนแสดงผลตอบแทนของ Small-Cap Equity Fund หนึ่งในกองทุนที่ Fuller & Thaler บริหารอยู่โดยมีผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี เท่ากับร้อยละ 14.14, ย้อนหลัง 3 ปีเท่ากับร้อยละ 14.44, ย้อนหลัง 5 ปีเท่ากับร้อยละ 14.85 ซึ่งหากเทียบกับผลตอบแทนของ S&P500 จะเห็นว่ากองทุนนี้มีผลตอบแทนสูงกว่าตลอด อาจจะไม่ใช่ผลตอบแทนมากกว่ามหาศาลแต่ถ้าหากเข้าใจถึงปรัชญาการลงทุนนี้จริงๆจะเข้าใจว่าทำไม

    หากใช้กลยุทธ์นี้และมองได้อย่างถูกต้องจริงๆจะเห็นได้เลยว่าเป็นการทำกำไรที่ง่ายดายและปราศจากความเสี่ยงเพียงแต่อาจจะต้องใช้ระยะเวลาและผลตอบแทนอาจจะไม่ได้หวือหวาซึ่ง Fuller & Thaler จะใช้กลยุทธ์นี้กับหุ้นขนาดกลาง (Mid-Cap) และหุ้นขนาดเล็ก (Small-Cap) เท่านั้น หากผู้อ่านลองคิดตามดีๆก็จะเข้าใจว่าทำไมถึงเหมาะใช้กับหุ้นขนาดกลางและขนาดเล็ก.. เพราะ sensitive ต่อข่าวและข้อมูลต่างๆมากกว่าหุ้นขนาดใหญ่นั่นเอง แล้วถ้าเป็นทองคำหล่ะ…ใช้กลยุทธ์นี้ได้ไหม? เราก็มามองกันที่ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาทองกันก่อนนั่นก็คือ “ปัจจัยเศรษฐกิจมหภาค” นั่นเอง หากคุณเคยลงทุนในทองหรือค่าเงิน คุณก็คงเห็นว่าเวลาที่มีการประกาศตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจต่างๆ หลายๆครั้งราคาทองคำและค่าเงินมีการเหวี่ยงหรือมีการเปลี่ยนแปลงให้เกิดทำกำไรได้ คุณอาจจะเข้าไปทำกำไรขณะเหวี่ยง หรือเมื่อเหวี่ยงแล้วเห็นความ under-react หรือ over-react แล้วเข้าไปทำกำไรได้ แต่ทั้งนีแค่เข้าใจเศรษฐศาสตร์อย่างเดียวคงไม่เพียงพอ ต้องเข้าใจ “ตลาด” หรือเข้าใจ “คน” ด้วยถึงจะใช้กลยุทธ์นี้ให้สำเร็จนะครับ หวังว่าครั้งต่อไปในการทำกำไร หากพิจารณา ตลาด และ คนให้ดี คุณคงจะบอกได้แล้วนะครับ ว่าพรุ่งนี้ทองจะขึ้นหรือไม่

#ซื้อขายทองคำแท่ง #ซื้อขายทองคำแท่งออนไลน์ #ทองคำ
#อินเตอร์โกลด์ #InterGOLD #ลงทุนทองคำแท่ง
สามารถติดตามบทวิเคราะห์ได้ที่: https://www.youtube.com/intergoldgoldtrade
 สนใจลงทุนทองคำแท่งหรือติดตามข่าวสารได้ที่
 Website : www.intergold.co.th
 Line : @intergold
 Facebook : https://www.facebook.com/IntergoldPage/
Call : 02 – 2233 – 234



ราคาทอง
10 ธันวาคม 2567 | 21:13:27

ประเภท รับซื้อ ขายออก
LBMA
99.99% (Baht)
-

0.00

-

0.00

InterGold
96.5% (Baht)
-

0.00

-

0.00

สมาคมฯ
96.5% (Baht)
-

0.00

-

0.00

Gold Spot
(USD)
-

0.00

-

0.00

ค่าเงินบาท
(USDTHB)
-
-

0.00

ราคาทองคำย้อนหลัง
ความเคลื่อนไหวกองทุนทองคำ
10 ธันวาคม 2567 | 21:12:02

SPDR (ton) (USD) HUI (USD)
870.79

-1.15

238.60

-0.43