fbpx

จุดเริ่มต้นความขัดเเย้งรัสเซีย – ยูเครน (EP.1)

วันที่ 7 มีนาคม 2565 เวลา 11.50 น.

จุดเริ่มต้นความขัดเเย้งรัสเซีย – ยูเครน (1)

 

ต้องย้อนไปนับตั้งแต่ที่ยูเครนแยกตัวเป็นเอกราชจากสาธารณรัฐรัสเซีย ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991 มีการให้คำสัญญากันว่า NATO จะไม่ขยายตัวเองมากกว่านี้

ช่วงที่ NATO ให้คำมั่นนี้ คือช่วงก่อนสหภาพโซเวียตล่มสลาย อาณาเขต NATO คือภาพแรก ภาพสองคือหลังโซเวียตล่ม

จากภาพ 1-2 เราจะเห็นได้ว่าประเทศที่ฝักใฝ่  NATO จริงๆ ก็มีอาณาเขตติดกับรัสเซียบ้างอยู่แล้ว ตรงโปแลนด์ กับกลุ่มประเทศบัลติก (ลิตัวเนีย ลัตเวีย เอสโตเนีย) กลุ่มประเทศบัลติกทั้งหลายนี่ ล้วนแต่เป็นประเทศเล็กที่เลือกโค่นระบบปกครองคอมมิวนิสต์แบบโซเวียตก่อนใคร

แต่ว่าตรงกลางจริงๆ ตอนนี้ ระหว่างรัสเซีย (สีแดง) กับประเทศ NATO (สีน้ำเงิน) จะเหลืออยู่แค่ประเทศหลักๆ ที่เรียกได้ว่าทำหน้าที่เป็น buffer state หรือรัฐกันชนสองประเทศ นั่นก็คือเบลารุส กับ ยูเครน นั่นเอง

แต่ในช่วงต้น ค.ศ. 2000 ความสัมพันธ์ระหว่างยูเครนกับชาติตะวันตกเพิ่มมาก หลัง วิกเตอร์ ยูชเชนโก ขึ้นครองตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2005 ซึ่งนโยบายหลักของเขาคือการทำให้ยูเครนถอยห่างจากรัสเซีย รวมถึงผลักดันให้ยูเครนได้เข้าเป็นสมาชิก NATO และในปี 2008 NATO ได้ให้สัญญาว่าในวันหนึ่งยูเครนจะได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก NATO เต็มตัว

.

แต่ก็มีจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ในยุคการปกครองของประธานาธิบดี วิกเตอร์ ยานูโควิชที่เป็นฝ่ายหนุนรัสเซีย โดยเขาได้ครองอำนาจตั้งแต่ปี 2010-2014 ซึ่งในปี 2013 ยานูโควิชตัดสินใจระงับข้อตกลงการค้าเสรีกับ EU เพื่อเอาใจรัสเซียและพยายามฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับรัสเซีย ซึ่งนั่นเองทำให้เกิดการประท้วงต่อต้านรัฐบาลครั้งใหญ่ในกรุงเคียฟช่วงปลายปี 2013

.

จากนั้นในต้นปี 2014 รัฐสภายูเครนลงมติถอดถอนยานูโควิชออกจากตำแหน่ง เเละมีการออกหมายจับ ทำให้เขาต้องหนีไปยังรัสเซีย โดยยานูโควิชประณามการลงมติถอดถอนเขาว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมายพร้อมขอให้รัสเซียช่วยเหลือ ซึ่งทางฝั่งรัสเซียก็ชี้ว่า การโค่นอำนาจยานูโควิชเป็นการก่อรัฐประหารและไม่ยอมรับรัฐบาลรักษาการของยูเครน

.

จากนั้นไม่นานหลังจากที่ยานูโควิชถูกปลดชนวนขัดแย้งที่นำมาสู่การแตกหักถึงขั้นทำสงครามครั้งแรกระหว่างรัสเซียและยูเครนก็เกิดขึ้น เมื่อเกิดการเดินขบวนของกลุ่มผู้ประท้วงสนับสนุนรัสเซียในภูมิภาคไครเมีย (Crimea) ที่เรียกร้องให้รัฐสภาท้องถิ่นต่อต้านรัฐบาลกลางชุดใหม่ และต้องการให้เปิดทำประชามติสถานะของไครเมียเพื่อแยกดินแดนผนวกรวมกับรัสเซีย

.

สงครามที่ไครเมีย จบลงอย่างไรเเละรุนเเรงเเค่ไหน เชื่อมโยงกับเหตุการณ์ปัจจุบันอย่างไร ติดตามต่อไหนตอนหน้าครับ


ราคาทอง
20 เมษายน 2567 | 02:32:20

ประเภท รับซื้อ ขายออก
LBMA
99.99% (Baht)
43,160

-3.00

43,230

-3.00

InterGold
96.5% (Baht)
41,637

-3.00

41,712

-3.00

สมาคมฯ
96.5% (Baht)
41,500

0.00

41,600

0.00

Gold Spot
(USD)
2,393.33

-0.15

2,393.71

-0.16

ค่าเงินบาท
(USDTHB)
-
36.85

0.00

ราคาทองคำย้อนหลัง
ความเคลื่อนไหวกองทุนทองคำ
20 เมษายน 2567 | 02:30:02

SPDR (ton) (USD) HUI (USD)
0.00

0.00

238.60

-0.43