fbpx
Card image cap

จุดเริ่มต้นความขัดแย้งรัสเซีย – ยูเครน EP3 ตอน ชนวนสงคราม

วันที่ 24 มีนาคม 2565 เวลา 12.08 น.

ย้อนกลับไปในตอนที่ 2
จุดเริ่มต้นความขัดแย้งรัสเซีย – ยูเครน EP2 ตอน ดินแดนไครเมีย สงครามภายในของยูเครน

https://www.facebook.com/IntergoldPage/posts/7194185930654952

ซึ่งเป็นรอยร้าวที่ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนมาหลายปี แต่ในปัจจุบันได้เกิดปัจจัยสำคัญที่เป็นชนวนเหตุเปรียบเสมือนการเปิดม่านสงครามสาเหตุนั้นคืออะไร วันนี้อินเตอร์โกลด์จะมาเล่าให้ฟังครับ

สาเหตุของความขัดแย้งครั้งนี้เริ่มมาจากการแยกตัวของ รัฐโดเนสต์(donetsk) – ลูฮันสก์ (luhansk) เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่เป็นฝ่ายที่ชื่นชอบรัสเซียและต้องการเห็นแคว้นของตัวเองเป็นแบบไครเมีย (Crimea) ที่แยกดินแดนออกมาจากยูเครนได้สำเร็จ แต่ต้องบอกกันก่อนนะครับว่า ไม่ว่า ไครเมีย โดเนสต์ หรือ ลูฮันสก์ นั้นไม่ได้ถูกยอมรับอย่างเป็นทางการจากประชาคมโลก

โดยในบทความนี้เราขอแบ่งยูเครนนั้นเป็น 2 ฝั่ง นะครับ
1. ฝั่งตะวันตกหนุนหลังโดย สหรัฐฯ EU และนาโต้
2. ฝั่งตะวันออกที่หนุนหลังโดยรัสเซีย ซึ่งรัฐบาลยูเครนฝั่งตะวันตกนั้นไม่พอใจกับการประกาศแยกเป็นรัฐอิสระของทั้งสอง ( รัฐโดเนสต์(donetsk) – ลูฮันสก์ (luhansk) ) จึงเกิดสงครามภายในเพื่อควบรวมมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยมีรายงานผู้เสียชีวิตที่เป็นประชาชนธรรมดาของ 2 รัฐนี้ถึง 14,000 รายเลยทีเดียว

คำถามคือสงครามครั้งนี้เกิดได้อย่างไร

ต้องเล่าไปถึงช่วงกำแพงเบอร์ลิน ในปี 1945 ภายใต้ผู้นำอย่างอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ที่ได้พ่ายในสงครามโลกครั้งที่ 2
กองทัพสัมพันธมิตรได้ยึดครองเยอรมัน โดยแกนนำในครั้งนั้นคือ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส และสหภาพโซเวียต และได้แบ่งเยอรมันภายใต้การปกครองออกเป็น 4 ส่วน โดยหลังจากนั้นมีการควบรวมจาก สหรัฐฯ อังกฤษ และ ฝั่งเศส เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี หรือเยอรมนีตะวันตก และสหภาพโซเวียต จัดตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี หรือเยอรมนีตะวันออก โดยเมื่อเวลาผ่านไปเยอรมนีตะวันออกนั้นเสื่อมถอยพัฒนาไม่ทันฝั่งตะวันตก ทำให้ชาวเยอรมนีตะวันออกย้ายถิ่นฐาน เป็นสาเหตุให้กำแพงเบอร์ลินเกิดขึ้นในปี 1961 จุดประสงค์เพื่อปิดกั้นการเดินทางข้ามไปฝั่งตะวันตก แต่ในที่สุดก็จบลงในปี 1989 เมื่อกำแพงเบอร์ลิน ที่ถูกสร้างมานานถึง 28 ปี ได้พังทลายลง โดยเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ปี 1990 เจมส์ เบเกอร์ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ให้คำมั่นสัญญา กับประธานาธิบดี มิคาอิล กอบาชอฟ ของอดีตสหภาพโซเวียตในการหารือสถานะการรวมเยอรมนีตะวันออกและตะวันตก โดยทั้งสหรัฐฯ และโซเวียตเห็นพ้องว่านาโตจะไม่ขยายพื้นที่เกินเยอรมนีตะวันออก
แต่หลังจากนั้นเหตุการณ์ไม่เป็นดังที่คิด เมื่อนาโตกลับขยายพื้นที่มากขึ้นเรื่อยๆ มาทางตะวันออก ซึ่งเป็นอดีตประเทศของสหภาพโซเวียต

กลับมาในปัจจุบันนั้น รัสเซียรู้สึกถึงภัยคุกคามมาตลอด เนื่องจากนาโตได้ขยายอิทธิพลและผิดคำมั่นสัญญาที่เคยให้ไว้กับรัสเซียมาตลอด ซึ่งรัสเซียก็ได้พยายามไกล่เกลี่ยทางการทูตเรื่อยมา แต่ถึงกระนั้นทางนาโตกับสหรัฐฯ ก็เมินเฉยข้อตกลงที่ทางรัสเซียเสนอไปตลอดระยะเวลา โดยหัวข้อหลักที่เสนอมีอยู่ว่า
1.ยุติหรือป้องกันการขยายอิทธิพลของนาโต
2.สัญญาว่าจะไม่รับยูเครนเป็นสมาชิก
3.ยกเลิกการประจำการอาวุธในประเทศยุโรปตะวันออก และให้กลับไปยึดข้อตกลงที่รัสเซียทำกับนาโตไว้เมื่อปี 1997

 

ความตึงเครียดนี้รุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการขยายอิทธิพลจากตะวันตก โดยรัฐบาลยูเครนนั้นเริ่มบุกฝั่งตะวันออกของยูเครนรุนแรงขึ้นและมีท่าทีที่จะเข้านาโตมากขึ้น โดยปูตินอ้างว่านาโต และสหรัฐฯ อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ทั้งหมดซึ่งทำให้รัสเซียไม่สามารถยอมรับได้ เนื่องจากยูเครนเป็นพื้นที่ทางยุทธศาสตร์สำคัญและมีพื้นที่ติดกับรัสเซียมากที่สุด ถ้าเข้าไปอยู่ในนาโตหมายถึงการมีปืนจ่อหน้าบ้านอยู่ตลอดเวลานั่นเอง

และแล้วสิ่งที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นก็เกิดครับ เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 กองทัพรัสเซียเคลื่อนกำลังพล บุกยูเครนเต็มรูปแบบ โดยก่อนหน้านั้นไม่กี่ชั่วโมง ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีมีร์ ปูติน ได้เซ็นยินยอม 2 รัฐ โดเนสต์-ลูฮันสก์ เป็นรัฐอิสระ และได้เคลื่อนทัพเข้าไปสู่ 2 รัฐนี้อย่างรวดเร็ว โดยใช้เวลาในการยึดอย่างรวดเร็วเพียงไม่ถึง 1 วันเท่านั้น โดยทางรัสเซียอ้างว่าเป็นการเคลื่อนทัพเพื่อปกป้องผู้คนชาวรัสเซียจากการรุกรานของชาติตะวันตก ประธานาธิบดียูเครน โวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ได้แถลงผ่านวิดีโอถึงประชาชนในยูเครนเสียชีวิตอย่างน้อย 137 คน และผู้บาดเจ็บอย่างน้อย 316 คน

เราเห็นกันแล้วใช่ไหมครับว่าเหตุการณ์นี้มีเบื้องลึกเบื้องหลังที่ไม่ธรรมดาทีเดียว โดยสงครามครั้งนี้อาจถูกวางแผนกันมาก่อนหน้านั้นแล้วก็ได้ ในตอนหน้าเราจะมาอัพเดทสถานการณ์ว่าเป็นอย่างไรต่อ รวมถึง การคว่ำบาตรมีอะไรบ้างและผู้ใดได้รับผลประโยชน์ และเสียผลประโยชน์กัน

ขอบคุณครับ

อ่าน Content อื่นๆเพิ่มเติม : https://www.intergold.co.th/
เปิดพอร์ตออนไลน์ : https://bit.ly/3hPrVQi
#ซื้อขายทองคำแท่ง #ซื้อขายทองคำแท่งออนไลน์ #ทองคำ
#อินเตอร์โกลด์ #InterGOLD #ลงทุนทองคำแท่ง
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน InterGOLD :
IOS http://ow.ly/C6yo50Dlwgt
Android http://ow.ly/cgyk50Dlwga
👉 สนใจลงทุนทองคำแท่งหรือติดตามข่าวสารได้ที่
☁️ SoundCould : https://soundcloud.com/intergold-podcast
🟢 Spotify : https://spoti.fi/2SDlww7
📱 Line : @intergold https://lin.ee/jw9R4jm
💻 Facebook : InterGOLD Gold Trade
☎️ Call : 02 – 2233 – 234



ราคาทอง
27 กรกฎาคม 2567 | 12:54:43

ประเภท รับซื้อ ขายออก
LBMA
99.99% (Baht)
42,020

0.00

42,095

0.00

InterGold
96.5% (Baht)
40,545

0.00

40,630

0.00

สมาคมฯ
96.5% (Baht)
40,550

0.00

40,650

0.00

Gold Spot
(USD)
2,386.89

0.00

2,387.47

0.00

ค่าเงินบาท
(USDTHB)
-
35.93

0.00

ราคาทองคำย้อนหลัง
ความเคลื่อนไหวกองทุนทองคำ
27 กรกฎาคม 2567 | 12:51:02

SPDR (ton) (USD) HUI (USD)
843.17

-2.02

238.60

-0.43