fbpx

STOP LOSS จำเป็นหรือไม่ แล้วแบบไหนเหมาะกับคุณ

STOP LOSS จำเป็นหรือไม่ แล้วแบบไหนเหมาะกับคุณ

========================================

เมื่อราคาไม่เป็นไปอย่างที่เราคาดการณ์ไว้ในตอนแรก ทำให้เราจำเป็นที่ต้องมีจุด Stop loss เพื่อหยุดการขาดทุนในกรณีเทรดผิดทาง ซึ่งจะคอยควบคุมความเสี่ยงของเรา ไม่ทำให้เราต้องเผชิญการสูญเสียที่รุนแรงได้
.
ผลการขาดทุน ถือเป็นส่วนหนึ่งของการเทรดอยู่แล้ว ไม่มีกลยุทธ์ไหนที่กำไร 100% ดังนั้นการตัดขาดทุน (Stop loss) เป็นสิ่งจำเป็นต้องมี โดยการเทรดมีถูก มีผิด อยู่เสมอ ขอแค่ภาพรวมเราเทรดแล้วทำกำไรได้ต่อเนื่อง แค่นั้นก็เพียงพอแล้ว
.
ทุกครั้งก่อนที่เราจะทำการเทรด เราต้องมีแผนการเทรดที่ชัดเจนก่อนหน้า ซึ่งหลักๆ ก็คือ
.
จุดเข้า
จุดออก (จุดทำกำไร และ จุด Stop loss)
โดยในส่วนนี้เราจะมาเน้นถึง “จุด Stop loss”
.
การตั้ง Stop loss
ในการตั้ง Stop loss จะมีอยู่ 3 รูปแบบ คือ
.
Percentage Stop
Pricet Stop
Time Stop
.
– Percentage Stop
อันนี้เป็นหลักการง่ายๆ ที่เราจะกำหนดว่า ราคาหุ้นลงมากี่เปอร์เซ็นต์ แล้วถึงจะ Stop loss ออกไป เช่น 2%, 5%, 10% หรือ 20% เป็นต้น
สมมุติ ซื้อหุ้นที่ราคา 10 บาท ตั้ง Stop loss ที่ 2% ก็คือที่ 8 บาท ถ้ามันลงมา 8 บาท เราจะตัดขาดทุนที เป็นต้น
.
แต่ก็มีอีกเเนวคิดหนึ่งที่เป็นที่นิยม ก็คือ คิดจากเปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
การใช้เปอร์เซ็นต์ของพอร์ตเป็นตัวกำหนดจุด Stop loss ส่วนมากเราจะกำหนด Risk อยู่ที่ประมาณ 2-5% ของเงินลงทุนทั้งหมด
.
เช่น
.
พอร์ต 1,000,000 บาท กำหนด Risk 2% ดังนั้นมูลค่า Stop loss ก็เท่ากับ 20,000 บาท
.
จากนั้นค่อยนำ 20,000 บาท ไปเทียบกับจุด Stop loss เพื่อหา Position Size (จำนวนหุ้นที่จะเทรด)
.
ดังนั้นวิธีนี้ อาจจะเหมาะกับสินค้าที่มี Leverage เช่น TFEX หรือ Forex เป็นต้น
.
– Chart Stop
เป็นการตั้ง Stop loss ที่ค่อนข้างมีหลักการ คือ จุดไหนที่ทำให้ภาพการคาดการณ์ของเราเปลี่ยนแปลงไป นั่นแหละคือจุดที่ควรตั้ง Stop loss
.
เช่น
เราเข้าเทรดโดยมองว่าราคาฟอร์มตัวเป็น Double Bottom ให้เราตั้ง Stop loss ในบริเวณที่ราคาที่จะทำให้ภาพ Double Bottom ถูกลบล้างออกไป
.
หรืออย่าง ถ้าเทรด Divergence ก็ตั้ง Stop loss ในจุด ที่จะทำให้ Divergence ถูกลบล้างออกไป
.
หรือหากให้สรุปแนวทางนี้ง่ายๆก็คือ ถ้ารูปแบบ Chart ที่เราคิดไว้ มันผิด ดังนั้นจึงต้อง Stop loss และหยุดการเทรด
.
– Time Stop
เป็นการ Stop loss อีกรูปแบบหนึ่งในกรณีที่เราเข้าเทรด แล้วราคาไม่ไปไหน นิ่งๆ ไม่ถึงเป้าหมาย แต่ก็ไม่หลุด Stop loss สักที … ในกรณีนี้ก็ถือว่าผิดจากที่เราคาดการณ์ สามารถใช้ Time Stop ออกไปได้เช่นเดียวกัน
.
สรุป
จาก 3 รูปแบบดังกล่าว เป็นแนวทางในการตั้ง Stop loss ให้กับเทรดเดอร์ จะใช้รูปแบบใดก็ได้ ขึ้นอยู่ความถนัดของแต่ละคน แต่ละรูปแบบ มีข้อดี และข้อเสีย ที่แตกต่างกันออกไป โดยรูปแบบทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่เทรดเดอร์มืออาชีพหลายคนใช้เทรดกัน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับตัวเองได้เลยนะครับ



ราคาทอง
19 พฤษภาคม 2567 | 01:01:52

ประเภท รับซื้อ ขายออก
LBMA
99.99% (Baht)
42,640

+15.00

42,705

0.00

InterGold
96.5% (Baht)
41,115

+15.00

41,185

0.00

สมาคมฯ
96.5% (Baht)
41,100

0.00

41,200

0.00

Gold Spot
(USD)
2,413.76

0.00

2,414.28

0.00

ค่าเงินบาท
(USDTHB)
-
36.11

0.00

ราคาทองคำย้อนหลัง
ความเคลื่อนไหวกองทุนทองคำ
18 พฤษภาคม 2567 | 23:57:02

SPDR (ton) (USD) HUI (USD)
0.00

0.00

238.60

-0.43