fbpx

จุดเริ่มต้นความขัดเเย้งรัสเซีย – ยูเครน (EP.2) ตอน ดินแดนไครเมีย

วันที่ 9 มีนาคม 2565 เวลา 15.40 น.

จุดเริ่มต้นความขัดเเย้งรัสเซีย – ยูเครน (EP.2) ตอน ดินแดนไครเมีย

หลังจากที่เราพูดถึงชนวนเหตุการณ์ที่ทำให้รัสเซีย และยูเครนขัดแย้งกันจนนำไปสู่สงครามในปัจจุบันแล้ว หากใครที่ยังไมไ่ด้อ่าน จุดเริ่มต้นความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย และยูเครน EP 1 กดเข้าไปอ่านได้ที่ลิงค์ EP 1
วันนี้เราจะย้อนกลับไปที่เหตุการณ์สำคัญที่เปรียบเสมือนชนวนที่ทำให้รัสเซีย และยูเครนมีความขัดแย้งกันเรื่อยมาก็คือเรื่องของดินแดนไครเมียนั่นเอง
ชนวนตวามขัดเเย้งระหว่าง ยูเครน – รัสเซีย เริ่มมีความตึงเครียดขึ้นตั้งเเต่ปี 2014 โดยพื้นที่ที่มีปัญหาในครั้งนั้นก็คือ ไครเมีย
.
ไครเมีย ในชื่อเดิมคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตปกครองตนเองไครเมีย เป็นดินแดนที่ติดกับคาบสมุทรติดทะเลดำ (The Black Sea) ที่ตั้งอยู่ทางใต้ของยูเครน โดยเป็นพื้นที่ปกครองตนเองที่มีประชากรราว 2.4 ล้านคน และส่วนใหญ่เป็นชนพื้นเมืองรัสเซีย ที่พูดภาษารัสเซีย
.
ความไม่สงบในไครเมียและกรณีการถอดถอนยานูโควิช ทำให้ฝ่ายรัสเซีย ตัดสินใจเริ่มต้นแผนดำเนินการเพื่อนำไครเมียกลับคืนสู่รัสเซียในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2014 และเริ่มต้นเคลื่อนกำลังทหารและกองกำลังพิเศษเข้าสู่ไครเมีย
.
สถานการณ์ประท้วงของผู้สนับสนุนรัสเซียในไครเมียทวีความรุนแรง และเกิดการปะทะระหว่างฝ่ายสนับสนุนรัสเซียกับยูเครน จากนั้นเกิดเหตุกองกำลังติดอาวุธไม่ทราบฝ่ายทบุกยึดรัฐสภาไครเมีย ขณะที่กองทัพรัสเซียเริ่มตั้งด่านตัดเส้นทางเข้าออกระหว่างไครเมียและยูเครน พร้อมทั้งเข้ายึดระบบสื่อสารทั้งหมด
.
ต่อมา รัสเซียได้ผ่านกฎหมายอนุมัติให้ส่งกองทัพไปยังไครเมีย ทำให้จุดยุทธศาสตร์ทั้งหมดในไครเมียถูกปิดล้อม นำมาสู่การตั้งรัฐบาลท้องถิ่นชุดใหม่ที่มีผู้นำเป็นฝ่ายสนับสนุนรัสเซีย
.
จากนั้นมีการจัดทำประชามติผนวกรวมไครเมียเข้ากับรัสเซียอย่างเป็นทางการในวันที่ 18 มีนาคม 2014 ซึ่งกองทัพรัสเซียยังเดินหน้าบุกโจมตีฐานทัพและเรือรบของยูเครนในพื้นที่ จนทำให้กองทัพยูเครนต้องถอนกำลังทหารทั้งหมดออกจากไครเมียในวันที่ 30 มีนาคม
.
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยูเครนไม่ยอมรับการผนวกรวมไครเมียเข้ากับรัสเซีย โดยประกาศว่าไครเมียเป็นดินแดนของยูเครนที่ถูกรัสเซียยึดไว้ชั่วคราว เช่นเดียวกับสหประชาชาติ ซึ่งมีมติไม่ยอมรับและประณามการผนวกรวมไครเมียเข้ากับรัสเซียว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
.
นอกจากพื้นที่ไครเมียแล้ว ในปีเดียวกันยูเครน ก็ต้องปะทะกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่สนับสนุนรัสเซียในภูมิภาคดอนบาส (Donbas) ทางตะวันออกของยูเครน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาอยู่ในปัจจุบัน โดยในเดือนเมษายน 2014 กลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดนในดอนบัส ได้ประกาศเอกราชจากยูเครน จุดชนวนให้เกิดการสู้รบอย่างต่อเนื่อง นับตั้งเเต่นั้นมา
.
เเละนี่ก็คือที่มาความขัดเเย้งทั้งหมดก่อนจะเกิดการปะทะครั้งใหญ่ขึ้นในปีนี้ ตอนหน้าเราจะมาตามดูสถานการณ์ปัจจุบันกัน ว่าตอนนี้รัสเซียหรือยูเครนต้องการอะไรทำใหม่ถึงเกิดการปะทะกันครั้งใหญ่ขนาดนี้
ติดตามชมในตอนถัดไปครับ ^^

ราคาทอง
14 ธันวาคม 2567 | 01:14:01

ประเภท รับซื้อ ขายออก
LBMA
99.99% (Baht)
-

0.00

-

0.00

InterGold
96.5% (Baht)
-

0.00

-

0.00

สมาคมฯ
96.5% (Baht)
-

0.00

-

0.00

Gold Spot
(USD)
-

0.00

-

0.00

ค่าเงินบาท
(USDTHB)
-
-

0.00

ราคาทองคำย้อนหลัง
ความเคลื่อนไหวกองทุนทองคำ
14 ธันวาคม 2567 | 01:12:02

SPDR (ton) (USD) HUI (USD)
868.50

-4.88

238.60

-0.43